เมนู

บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่งซึ่งจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ เพราะ
ปรารภจักษุเป็นต้นนั้น ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัส
ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่คันถธรรมทั้งหลาย ด้วยอำนาจของปุเรชาต-
ปัจจัย.
3. ธรรมที่ไม่ใช่คันถธรรม เป็นปัจจัยแก่คันถธรรม
ธรรมที่ไม่ใช่คันถธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่งซึ่งจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ เพราะ
ปรารภจักษุเป็นต้นนั้น ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น โทมนัส ย่อม
เกิดขึ้น คันถธรรมและสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่คันถธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วย
อำนาจของปุเรชาตปัจจัย.

11. ปัจฉาชาตปัจจัย ฯลฯ 12. อาเสวนปัจจัย


ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย

มี 3 วาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย มี 9 วาระ.

13. กัมมปัจจัย


[518] 1. ธรรมที่ไม่ใช่คันถธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่
ไม่ใช่คันถธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ นานาขณิกะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
เจตนาที่ไม่ใช่คันถธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตต-
สมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
ที่เป็น นานาขณิกะ ได้แก่
เจตนาที่ไม่ใช่คันถธรรม เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ และกฏัตตารูป
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
2. ธรรมที่ไม่ใช่คันถธรรม เป็นปัจจัยแก่คันถธรรม
ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

คือ เจตนาที่ไม่ใช่คันถธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย
ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
3. ธรรมที่ไม่ใช่คันถธรรม เป็นปัจจัยแก่คันถธรรม
และธรรมที่ไม่ใช่คันถธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

คือ เจตนาที่ไม่ใช่คันถธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย,
คันถธรรม และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.